วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระพุทธเจ้าพยากรณ์เรื่องอะไร?

 
ทรงพยากรณ์เฉพาะเรื่องอริยสัจสี่
“....ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นเป็ นคำจริง คำอื่น
เป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ พระเจ้าข้า ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ”
ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นเป็ นคำจริ ง คำอื่น
เป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็น
โมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า โลกมีที่สิ้นสุด นี้เท่านั้นเป็ นคำจริ ง คำอื่น
เป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?
โปฎฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “โลกมีที่สิ้นสุด นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็น
โมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด นี้เท่านั้นเป็ นคำจริ ง คำ
อื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “โลกไม่มีที่สิ้นสุด นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่น
เป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ชีวะก็อันนั้น สรี ระก็อันนั้น นี้เท่านั้นเป็ น
คำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น นี้เท่านั้นเป็นคำ
จริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น นี้เท่านั้นเป็ น
คำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น นี้เท่านั้นเป็นคำจริง
คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก นี้
เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก นี้
เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก
นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก นี้
เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี
ไม่มีอีกก็มี นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ไม่มี
อีกก็มี นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตาย แล้วย่อมมีอีก
ก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้ นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้
ไม่มีอีกก็หามิได้ นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่
พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุอะไรเล่า ข้อนั้น ๆ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ทรงพยากรณ์ ?
โปฏฐปาทะ ! เพราะเหตุว่า นั่นไม่ประกอบด้วยอรรถะ ไม่ประกอบ
ด้วยธรรมะ ไม่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย
ความคลายกำหนัด ความดับ ความระงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน,
เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุอะไรเล่า เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงพยากรณ์ ?”
โปฏฐปาทะ ! ข้อที่เราพยากรณ์นั้นคือ นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดทุกข์,
นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
ดังนี้.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุอะไรเล่า จึงทรงพยากรณ์ ?”
โปฎฐปาทะ ! เพราะเหตุว่า นั่นประกอบด้วยอรรถะ ประกอบด้วยธรรมะ
เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด
ความดับ ความระงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน, เหตุนั้นเราจึงพยากรณ์.
- สี. ที. ๙/๒๓๒-๒๓๓/๒๙๒-๒๙๓.

ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จำเป็ นเสียก่อน ก็ตายเปล่า
มาลุงก๎ยบุตร ! ตถาคตมิได้พูดกะท่านว่า ท่านจงมาประพฤติพรหม-
จรรย์ในสำนักเรา เราจักพยากรณ์แก้ความเห็น ๑๐ ประการ๑ แก่ท่าน และทั้ง
ท่านก็มิได้พูดไว้กะเราว่า ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระผู้มี-
พระภาคเจ้า, พระผู้มีพระภาคเจ้าจักพยากรณ์แก้ทิฏฐิความเห็น ๑๐ ประการแก่ข้า
พระองค์. เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่า โมฆบุรุษ ! ที่จักบอกคืนพรหมจรรย์แก่
ใคร. มาลุงก๎ยบุตร ! ถึงใครกล่าวว่า เราจักยังไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า จนกว่าพระองค์จักแก้ปัญหาทิฏฐิ ๑๐ แก่เราเสียก่อน
ก็ตาม ตถาคตก็ไม่พยากรณ์ปัญหาทิฏฐิ ๑๐ นั้นอยู่นั่นเอง และเขาก็ตายเปล่า
โดยแท้.
มาลุงก๎ยบุตร ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ถูกลูกศรอันกำซาบด้วย
ยาพิษอย่างแรงกล้า มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิต จัดการเรียกแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญ.
บุรุษนั้นกล่าวเสียอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักตัวบุรุษผู้ยิงเราว่าเป็นกษัตริย์ พราหมณ์
เวสส์ ศูทร ชื่อไร โคตรไหน ฯลฯ ธนูที่ใช้ยิงนั้นเป็นชนิดหน้าไม้ หรือ
เกาฑัณฑ์ ฯลฯ (เป็นต้น) เสียก่อนแล้ว เรายังไม่ต้องการจะถอนลูกศรอยู่เพียงนั้น.
มาลุงก๎ยบุตร ! เขาไม่อาจรู้ข้อความที่เขาอยากรู้นั้นได้เลย ต้องตายเป็นแท้ !
อุปมานี้ฉันใด ; อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน, บุคคลผู้กล่าวว่า เราจักยังไม่
ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า จนกว่าพระองค์จักแก้ปัญหา
ทิฏฐิ ๑๐ แก่เราเสียก่อน, และตถาคตก็ไม่พยากรณ์ปัญหานั้นแก่เขา เขาก็ตาย
เปล่า โดยแท้ ...
มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจงซึมทราบสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ไว้ โดยความ
เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์. ซึมทราบสิ่งที่เราพยากรณ์ไว้ โดยความเป็นสิ่งที่
เราพยากรณ์. อะไรเล่า ที่เราไม่พยากรณ์ ? คือความเห็นสิบประการว่า โลก
เที่ยง ฯลฯ (เป็นต้น) เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ฯลฯ. มาลุงก๎ยบุตร ! อะไรเล่า
ที่เราพยากรณ์ ? คือสัจจะว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความ
ดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;”
ดังนี้ : นี้เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์. เหตุใดเราจึงพยากรณ์เล่า ? เพราะสิ่ง ๆ นี้
ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความ
หน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม
และนิพพาน.
- ม.ม. ๑๓/๑๔๗,๑๕๑/๑๔๙ - ๑๕๐,๑๕๒.

หน้าที่ของสงฆ์






 
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้ตามประกอบใน
ชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจาก
กิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน
ยันค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี, ครั้นยามกลางแห่งราตรี
ย่อมสำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงข้างขวา เท้า
เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น, ครั้นยามสุดท้าย
แห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ก็ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจาก
กิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม และด้วยการนั่งอีก.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า เป็น ผู้ตามประกอบใน
ชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๕๐/๓๗.


วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แผ่เมตตาตามแบบพระพุทธเจ้าทำอย่างไร





 
การเจริญเมตตา

(หรือการเจริญพรหมวิหาร )
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น
ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาป
ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอ
เป็นจิตตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และอกุศล-
ธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อนนั้
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่ง
เมตตาเจโตวิมุตติ, กรุณาเจโตวิมุตติ, มุทิตาเจโตวิมุตติ,
อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง
ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว
เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจาก
อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด
เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจ
ประกอบด้วยปีติแล้ว กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับ
ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนนั้ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนนั้
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนนั้ และเธอมีจิตประกอบด้วย
เมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มี เวร ไม่มี พยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
มีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนนั้ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนนั้
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย
กรุณา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มี พยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
มีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนนั้ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย
มุทิตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มี เวร ไม่มี พยาบาท แผ่ไปทั้ง เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนนั้ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนนั้
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย
อุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มี เวร ไม่มี พยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่
สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี
น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทศิ เหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผา
เร่าร้อน ลำบาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึง
สระโบกขรณนี นั้ แล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มนํ้า และ
ความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ แม้ฉันใด
เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา
กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต
ณ ภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติ
ข้อปฏิบัติอันดียิ่ง
เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์
ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศไม่ยากฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ
(กรุณาเจโตวิมุตติ..., มุทิตาเจโตวิมุตติ..., อุเบกขาเจโต-
วิมุตติ...,) ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมี
ขีดจำกัดย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น
เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว
เมื่อนั้นเธอจักเดินไปในทางใดๆ ก็จักเดินเป็นสุข
ในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ
นั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนั่งเป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ
ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ
เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก
ทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน
ที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนื่องๆ
ปรารภสมํ่าเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ
หลับเป็นสุข ๑
ตื่นเป็นสุข ๑
ไม่ฝันร้าย ๑
เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑
เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑
เทพยดารักษา ๑
ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดีไม่ต้องบุคคลนนั้ ๑
จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑
สีหน้าผุดผ่อง ๑
ไม่หลงทำกาละ ๑
เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป
ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑
เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก
ทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน
ที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ
ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่างนี้แล.
อํ. สตฺตก. ๒๓/๓๐๘/๑๖๐
ม. มู. ๑๒/๕๑๘/๔๘๒
ที. สี ๙/๓๑๐/๓๘๓-๔
อํ. เอกาทสก. ๒๔/๓๗๖/๒๒๒

พระพุทธเจ้าทรงสวดมนต์บทไหน


 

ปฏิจจสมุปบาท
อิธะ ภิกขะเว อริยะสาวะโก ปะฏิจจะสะ-
มุปปาทัญเญวะ สาธุกัง โยนิโส มะนะสิกะโรติ

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี
ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า

อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ

ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ

เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ

เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป


ยะทิทัง

ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

อะวิชชาปัจจะยา สังขารา
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย

สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

ผัสสะปัจจะยา เวทะนา
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

อุปาทานะปัจจะยา ภะโว
เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

ภะวะปัจจะยา ชาติ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ-
ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมะนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้  ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

อะวิชชายะเต๎ววะ อเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว  จึงมีความดับแห่งสังขาร

สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสังขาร  จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ  จึงมีความดับแห่งนามรูป

นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งนามรูป  จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ  จึงมีความดับแห่งผัสสะ

ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ  จึงมีความดับแห่งเวทนา


เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา

ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ

ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ

ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

นิทาน.สํ. ๑๖/๘๕/๑๕๙

ขันธ์5 คืออะไร เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมอย่างไร